วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

วันอังคาร ที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2561


บทที่ 2 ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ ในที่นี้จะกล่าวถึงทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและเป็นประโยชน์ต่อพื้นฐานการสร้างความเข้าใจในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนี้





ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)           
              ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud. 1856-1939)  ได้ให้ความสำคัญของเด็กวัย 5 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตเขาเชื่อว่าวัยนี้เป็นรากฐานของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเด็กที่สุดคือ แม่จะเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อบุคลิกภาพและสุขภาพจิตของเด็ก ฟรอยด์ได้พัฒนาทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น โดยให้ชื่อว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเพศ (Psychosexual Development) ซึ่งทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงชีวภาพของร่างกาย โดยร่างกายจะเปลี่ยนแปลงบริเวณแห่งความพึงพอใจเป็นระยะ ๆ ในช่วงอายุต่าง ๆ กัน และถ้าบริเวณแห่งความพึงพอใจต่าง ๆ นี้ได้รับการตอบสนองเต็มที่ เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีและสมบูรณ์ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองเต็มที่ก็จะทำให้เกิดการสะสมปัญหาและแสดงออกเมื่อเด็กโตขึ้น
              ฟรอยด์ (Freud) ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้น ดังนี้
              1. ขั้นความพอใจอยู่บริเวณปาก (Oral) พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 0-1 ปี ในขั้นนี้จะมีความสนใจบริเวณปาก ปากนำความสุขเมื่อได้ถูกอาหารสนองความต้องการความหิว ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองก็อาจจะทำให้เกิดความคับข้องใจ
              2. ขั้นความพอใจอยู่ที่บริเวณทวารหนัก (Anus) พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 1-3 ปี ซึ่งเป็นระยะขับถ่าย เด็กจะเรียนรู้การขับถ่าย ถ้าเด็กไม่ถูกบังคับก็จะเกิดความพอใจ ไม่ขัดแย้งและไม่เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์
              3. ขั้นความพอใจอยู่ที่อวัยวะเพศ (Phallic) พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 3-6 ปี ซึ่งเป็นระยะเกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ สนใจ อยากรู้อยากเห็น สภาพร่างกายแตกต่างไปตามเพศ เรียนรู้บทบาททางเพศของตน เลียนแบบบทบาทพ่อแม่ของตน ต้องการความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่
              4. ขั้นก่อนวัยรุ่น (Latency) พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 6-11 ปี เป็นระยะสนใจสังคมเพื่อนฝูง เด็กจะพยายามปรับตัวให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ
              5. ขั้นวัยรุ่น พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ เป็นระยะที่มีความสนใจในเพศตรงข้ามมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นความรักระหว่างเพศ
               นอกจากนี้ ฟรอยด์ ยังกล่าวถึง โครงสร้างของบุคลิกภาพไว้ด้วยว่า บุคลิกภาพประกอบไปด้วยอิด (Id) อีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) ซึ่งการทำงานของบุคลิกภาพอยู่ภายใต้พลัง 3 สิ่งนี้
                       อิด (Id) คือ บุคลิกภาพส่วนที่เป็นจิตไร้สำนึก เป็นแรงผลักดันตามธรรมชาติที่สั่งให้มนุษย์กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตามที่ตนต้องการ เป้าหมาย Id คือ ความพึงพอใจ (Pleasure Principle)
                       อีโก้ (Ego) คือ บุคลิกภาพส่วนที่มนุษย์พัฒนาขึ้นจากการได้มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เป็นส่วนที่ควบคุมให้มนุษย์ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยใช้หลักแห่งความจริง (Rrality Principle)
                        ซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego) คือ บุคลิกภาพที่มนุษย์พัฒนาขึ้นจากค่านิยมและมาตรฐานจริยธรรมของบิดามารดา เป็นส่วนที่ควบคุมให้มนุษย์เลือกทำแต่สิ่งที่ตนคิดว่าดี (Ego Ideal) และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมของตน (Conscience) บุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ดี คือ บุคคลอีโก้ (Ego) สามารถปรับให้เกิดความสมดุลระหว่างแรงขับตามธรรมชาติของอิด (Id) กับมาตรฐานจริยธรรมของซุปเปอร์อีโก้ (Super Ego)


ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอิริคสัน (Erikson)
                อิริคสัน (Erikson อ้างถึงใน สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2547 : 46-49)  เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตวิเคราะห์ มีอาชีพเป็นจิตแพทย์ ในปี 1955 ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานของ The Division of Development Psychology อิริคสัน (Erikson) ได้เน้นความสำคัญของเด็กปฐมวัยว่าเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้นสำหรับเด็ก บุคลิกภาพจะสามารถพัฒนาได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละช่วงของอายุเด็กประสบสิ่งที่พึงพอใจตามขั้นพัฒนาการต่าง ๆ ของแต่ละวัยมากเพียงใด ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองต่อสิ่งที่ตนพอใจในช่วงอายุนั้น เด็กก็จะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมและพัฒนาครอบคลุมถึงวัยผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งพัฒนาการของมนุษย์มี 8 ขั้น คือ
                  1. ขั้นความเชื่อใจหรือขาดความเชื่อใจ (Trust Versus Mistrust) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ปี ในขั้นนี้เด็กจะพัฒนาความรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับและสามารถให้ความเชื่อใจเป็นมิตรแก่คนอื่น วิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้ม การให้อาหาร หรือวิธีการเลี้ยงดูต่าง ๆ จะส่งผลไปสู่บุคลิกภาพของความเป็นมิตร เปิดเผย และเชื่อถือไว้เนื้อเชื่อใจต่อสภาพแวดล้อมและบุคคลต่าง ๆ ถ้าเด็กไม่ได้รับความรักและความอบอุ่นอย่างเพียงพอ เด็กก็จะพัฒนาบุคลิกภาพของความตระหนี่ ปกปิดไม่ไว้วางใจ และมักมองโลกในแง่ร้าย
                  2. ขั้นการควบคุมด้วยตนเองหรือสงสัย/อาย (Autonomy Versus Doubt or Shame) อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเรียนรู้ที่จะช่วยตนเอง สามารถควบคุมตนเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ เด็กจะสามารถทำงานง่าย ๆ เหมาะสมกับวัยของเด็กให้สำเร็จด้วยตนเอง เช่น การหยิบอาหารเข้าปาก เดิน วิ่ง หรือเล่นของเล่น ถ้าพ่อแม่บังคับหรือห้ามไม่ได้เด็กกระทำสิ่งใดด้วยตนเอง หรือเข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กเกิดความสงสัยในความสามารถของตนเอง เกิดความละอายในสิ่งที่ตนกระทำ ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนไม่สามารถทำอะไรได้อย่างถูกต้องและได้ผล เกิดความย่อท้อ ชอบพึ่งผู้อื่น
                   3. ขั้นการริเริ่มหรือรู้สึกผิด (Initiative Versus Guilt) อยู่ในช่วงอายุ 3-6 ปี เป็นขั้นพัฒนาการความคิดริเริ่ม หรือความรู้สึกผิด (Sense of VS. of Guilt) เด็กจะมีความกระตือรือร้นที่จะเรียกสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเอง เด็กมีการเลียนแบบผู้อยู่ใกล้ชิดหรือสิ่งแวดล้อมที่ตนรับรู้ เด็กเริ่มเรียนรู้และยอมรับค่านิยมของครอบครัว และสิ่งถ่ายทอดสู่เด็ก ถ้าเด็กไม่มีอิสระในการค้นหาก็จะส่งผลไป สู่ความคับข้องใจที่ไม่สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อจิตใจของเด็กและความรู้สึกผิดติดตัว
                     4. ขั้นการประสบความสำเร็จ ความขยันหมั่นเพียรหรือรู้สึกด้อย (Mastery Versus Inferiority) อยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นขั้นที่ทุ่มเท ขยัน เพื่อเกิดความสำเร็จ ชอบแข่งขันร่วมกับเพื่อนกับกลุ่ม
                     5. ขั้นการรู้จักตนเองหรือความสับสนไม่รู้สึกตนเอง (Identity Versus Diffustion : Fidelity) อยู่ในช่วงอายุ 13-17 ปี (The College Years) เป็นขั้นการค้นหาความเป็นตนเอง สร้างความเป็นตนเองโดยผู้ใหญ่และสังคมมีอิทธิพล
                    6. ขั้นรู้สึกโดดเดี่ยว (Intimacy Versus Isolation) อยู่ในช่วงอายุ 18-22  ปี (Early Adolescence and Self Comment) เป็นขั้นความรับผิดชอบ เป็นผู้ใหญ่สร้างตัว
                    7. ขั้นความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่หรือความรู้สึกเฉื่อยชา (Cenerativity Versus Aborption) อยู่ในช่วงอายุ 22-40 ปี เป็นขั้นสร้างความปึกแผ่น สืบวงศ์ตระกูล รู้บทบาทหน้าที่ รับผิดชอบครอบครัว ลูก
                    8. ขั้นความมั่งคั่ง สมบูรณ์ หรือหมดหวัง ทอดอาลัยชีวิต (Integrity Versus Despair) อยู่ในช่วงอายุ 40 ปี วัยชราเป็นขั้นมีความภูมิใจในความสำเร็จของชีวิต หรือเกิดความอาลัยท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดขึ้น
                    พัฒนาการบุคลิกภาพทั้ง 8 ขั้นของอิริคสัน ในขั้นพัฒนาการที่ 1-3 มีความเกี่ยวข้องกับวัยของเด็กปฐมวัย เด็กมีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ และครอบครัว ดังนั้น พ่อแม่ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก เด็กมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ในวัยผู้ใหญ่ได้ขึ้นอยู่กับรากฐานพัฒนาการในวัยนี้เป็นสำคัญ 


ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล (Gesell)
                อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell. 1880-1961) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เริ่มก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเด็ก (Institute of Child Development) ณ มหาวิทยาลัยเยล ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1940 อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กว่าการเจริญเติบโตของเด็กทางร่างกาย เนื้อเยื่อ อวัยวะ หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ และพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่าง ๆ กีเซลเชื่อว่าวุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และมีในเด็กแต่ละคนมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละวัยมีความพร้อมทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
                 อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องการวัดและประเมินออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่
                        1. พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว (Motor Behavior) ครอบคลุมการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหว
                        2. พฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive Behavior) ครอบคลุมความสัมพันธ์ของการใช้มือและสายตา การสำรวจ ค้นหา การกระทำต่อวัตถุ การแก้ปัญหาในการทำงาน
                        3. พฤติกรรมทางการใช้ภาษา (Language Behavior) ครอบคลุมการที่เด็กใช้ภาษา การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน
                       4. พฤติกรรมส่วนตัวและสังคม (Personal-Social Behavior) ครอบคลุมการฝึกปฏิบัติส่วนตัว เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย และการฝึกต่อสภาพสังคม เช่น กรเล่น การตอบสนองผู้อื่น
               จากแนวความคิดของ อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) สามารถนำมาอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ในด้านการเจริญเติบโตพัฒนาการทางร่างกาย และสามารถนำไปเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้อีกด้วย นอกจากนั้น อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) ได้เขียนหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ The First Five Year of Life และ The Child from Five to Ten ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้มีบทบาทมากต่อการจัดกลุ่มเด็กเข้าศึกษาในชั้นอนุบาลศึกษาและชั้นประถมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานใช้เป็นแบบทดสอบมาตรฐานในการทำนายพฤติกรรม วิเคราะห์กลุ่ม และทำวิจัย เพื่อบอกลักษณะพัฒนาการของเด็ก โดยใช้อายุทางปฏิทินเป็นเกณฑ์ นอกจากนี้มีบทบาทมากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยการจัดกิจกรรมนั้นต้องให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน 


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
               เพียเจต์ (Jean Piaget, 1969)  นักจิตวิทยาชาวสวิสที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้เชี่ยวชาญในทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา หนังสือและบทความทั้งหมดซึ่งเป็นผลงานของเขาเกี่ยวข้องกับความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นถึงความสำคัญของความเป็นมนุษย์ อยู่ที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างความรู้ผ่านการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปรากฏอยู่ในตัวเด็กตั้งแต่แรกเกิด ความสามารถนี้คือการปรับตัว (Adaptation) เป็นกระบวนการที่เด็กสร้างโครงสร้างตามความคิด (Scheme) โดยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม 2 ลักษณะ คือ เด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดบ้อม โดยซึมซับประสบการณ์ (Assimilation) และการปรับโครงสร้างสติปัญญา (Accommodation) ตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลในโครงสร้างความคิด ความเข้าใจ (Equilibration) ทั้งนี้ เพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาไว้ 4 ขั้นดังนี้
                1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) พัฒนาการระยะนี้อยู่ในช่วง 2 ปีแรกหลังเกิด ขั้นนี้เป็นขั้นของการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส ในขั้นนี้พัฒนาการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการเรียนรู้ การแก้ปัญหา มีการจัดระเบียบการกระทำ มีการคิดก่อนที่จะทำ การกระทำจะทำอย่างมีจุดมุ่งหมายด้วยความอยากรู้อยากเห็น และเด็กยังสามารถเลียนแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแบบให้เห็นในขณะนั้นได้ ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการด้านความจำที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 18-24 เดือน
                 2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)   ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว ในระยะ 5-6 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ขั้น Intuitive Thought ระยะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง ซึ่งเด็กจะก้าวออกจากการรับรู้เพียงมิติเดียวไปสู่การรับรู้ได้ในหลาย ๆ มิติในเวลาเดียวกันมากขึ้น และจะก้าวไปสู่การคิดอย่างมีเหตุผล โดยไม่ยึดอยู่กับการรับรู้เท่านั้น เด็กจะเริ่มมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวดีขึ้น แต่ยังคิดและตัดสินผลของการกระทำต่าง ๆ จากสิ่งที่เห็นภายนอก
                  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage) ขั้นนี้ เริ่มจากอายุ 7-11 ปี เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation) ได้ เด็กในขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรมจะพัฒนาจากการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางไปสู่ความสามารถที่จะเข้าใจแนวคิดของสังคมรอบตัว และสามารถเข้าใจว่าผู้อื่นคิดอย่างไรมากขึ้น แม้ว่าการคิดของเด็กวัยนี้จะพัฒนาไปมากแต่การคิดของเด็กยังต้องอาศัยพื้นฐานของการสัมผัสหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กยังไม่สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมที่ซับซ้อนได้เหมือนผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตอนปลายของขั้นนี้เด็กจะเริ่มเข้าใจสาเหตุของเหตุการณ์รอบตัวพร้อมจะแก้ปัญหา ไม่เพียงแต่สิ่งที่สัมผัสได้หรือเป็นรูปธรรมเท่านั้นแต่เด็กจะเริ่มสามารถแก้ปัญหา โดยอาศัยการตั้งสมมติฐานและอาศัยหลักของความสัมพันธ์ของปัญหานั้น ๆ บ้างแล้ว
                 4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง 


ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg)
              ลอเรนส์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg อ้างถึงใน สิริมา  ภิญโญอนันตพงษ์, 2547 : 52-54จบปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยชิคาโก (ChicagoUniversity) และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ณ ที่นี้เขาได้รับทุนทำวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งเขาได้ศึกษาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเด็กวัยรุ่นตอนต้นและวัยผู้ใหญ่ เป็นการศึกษาแบบระยะยาว (Longitudinal Study) และได้ตั้งทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ประกอบด้วย ขั้นพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม 6 ขั้น มีระดับความคิดทางจริยธรรม 3 ระดับ ดังนี้
                       1. ระดับเริ่มมีจริยธรรม (2-10 ปี)  มีลักษณะทำตามที่สังคมกำหนดว่าดีหรือไม่ ส่วนใหญ่จะมองผลของการกระทำว่าได้รับความเจ็บปวด หรือความพึงพอใจ และจะทำตามกฎเกณฑ์ที่มีผู้มีอำนาจเหนือตนกำหนดไว้เป็น
                                   ขั้นที่ 1    เด็กจะเคารพกฎเกณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
                                   ขั้นที่ 2    ใช้หลักการแสวงหารางวัล เลือกทำแต่สิ่งที่นำความพอใจมาให้ตน    เท่านั้น การมองความสัมพันธ์ของคนยังแคบ มีลักษณะการแลกกัน  ถือเกณฑ์กรรมสนองกรรมอย่าตีคนอื่น เพราะเขาจะตีเราตอบ
                         2. ระดับมีจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ มีลักษณะคล้ายตามประเพณีนิยม (10-16 ปี)
                                   ขั้นที่ 3    เกณฑ์การตัดสินใจความถูกผิดอยู่ที่ผู้อื่นเห็นชอบการทำดี คือ ทำสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นพอใจ ช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้สังคมยอมรับ
                                   ขั้นที่ 4    เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดอยู่ที่ความเป็นระเบียบของสังคม และการกระทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม ทำตามหน้าที่ของตน รักษากฎเกณฑ์
                         3. ระดับมีจริยธรรมของตนเอง มีลักษณะพยายามกำหนดหลักการทางจริยธรรมที่ต่างไปจากกฎเกณฑ์ของสังคม (16 ปีขึ้นไป)
                                   ขั้นที่ 5    คิดถึงกฎที่จะเป็นประโยชน์สังคม คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ยอมรับกฎเกณฑ์ส่วนรวม
                                   ขั้นที่ 6    คำนึงถึงหลักจริยธรรมตัดสินความถูกผิดจากจริยธรรมที่ตนยึดถือจากสามัญสำนึกของตนเองจากเหตุผล คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ไม่คล้อยตามสังคม


ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)
                บรูเนอร์ (Bruner, 1956)   เป็นนักจิตวิทยาในยุคใหม่  ชาวอเมริกันคนแรกที่สืบสานความคิดของเพียเจต์ โดยเชื่อว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ (Organism) เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก ซึ่งจะพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาว่าเด็กเรียนรู้อย่างไร ควรศึกษาตัวเด็กในชั้นเรียนไม่ควรใช้หนูและนกพิราบ ทฤษฎีของบรูเนอร์เน้นหลักการ กระบวนการคิด ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะ 4 ข้อ คือ แรงจูงใจ (Motivation) โครงสร้าง (Structure) ลำดับขั้นความต่อเนื่อง (Sequence) และการเสริมแรง (Reinforcement)
                สำหรับในหลักการที่เป็นโครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการคิดในการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นด้วยกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ได้แก่
                        1. ขั้นการกระทำ (Enactive Stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
                        2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ (Piconic Stage) เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการด้วย
                        3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด (Symbolic Stage) เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น



จากนั้นอาจารย์ก็ให้จับกลุ่มทำวีดีโอนำเสนอ "ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก" ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้กลับไปทำเป็นการบ้านเพื่อมานำเสนอในสัปดาห์ถัดไป
 ประเมินตนเอง : วันนี้มาเรียนเช้ากว่าปกติ แล้วก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : วันนี้ตามจริงจะนำเสนอบทความที่อาจารย์ให้ไปหามาแต่เพื่อนขอผลัดส่งอังคารถัดไป แต่เพื่อนตั้งใจเรียนกันมาก บรรยากาศในห้องเรียนก็เงียบ ไม่มีใครคุยกันเลย
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมากสอนรวดเร็วกระชับดีค่ะ


วันอังคารที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ.2561


บทที่ 1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ


เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ช่างซักถาม ชอบค้นคว้า สำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นของตัวเอง เป็นวัยที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มที่






ความสำคัญของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย ด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน






ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
• ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
• ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
• มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
• พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น

• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ

ความหมายของการพัฒนา
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามศักยภาพ

ลักษณะของการพัฒนา
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
  1) พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
  2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
  3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
  4) อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
 5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ ของอินทรีย์ (differentiation)
 6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้ ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
 7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน แม้ว่าจะมีพัฒนาการหลายด้านเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ตาม
8) พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

ลักษณะทั่วไปของการพัฒนาเด็ก
1. เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal factors) ได้แก่
  1.1 พันธุกรรม (heredity)
  1.2 วุฒิภาวะ (maturation)
2. เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย (external factors)

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเด็ก
1. อาหาร
  2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
  3. เชื้อชาติ
  4. เพศ
  5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
  6. สติปัญญา
  7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
  8. ตำแหน่งในครอบครัว 


ความหมายของเด็กพิเศษ
คำว่า เด็กพิเศษ หรือ Children With Special Need หมายถึงเด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ ยังมีคำภาษาไทยใช้กันอยู่หลายคำ คือเด็กนอกระดับ เด็กผิดปกติ เด็กพิการ เด็กอปกติ แต่คำที่ใช้บ่อย และถือเป็นสากลก็คือคำว่า “เด็กพิเศษ”


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง
  2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
  ด้วยความสามารถหรือมีปัญหา ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีการเรียนรู้ช้า ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เทียบไม่ได้กับเด็กในระดับเดียวกัน และในกลุ่มเด็กบกพร่องนี้ จะมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมตามมา

วิธีสังเกตการเจริญเติบโตของเด็ก
ใช้วิธีการง่าย ๆ คือ การสังเกตหรือสอบถามจากผู้ที่มีลูกแล้ว เมื่อทราบและสังเกตพบว่า เด็กมีการเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ปกติดังกล่าวข้างต้นประมาณ 2 – 3 เดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือ
  1. พาเด็กไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจพัฒนาการของเด็ก
  2. พาเด็กไปรับการส่งเสริมพัฒนาการตามโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขต่าง ๆ

พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ขวบ
อายุ
การทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ตาและมือ
การสื่อความหมายและภาษา
สังคม
แรกเกิด
งอแขนขาและเคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ข้าง ในท่านอนคว่ำมองเหม่อ เห็นชัดเฉพาะระยะห่าง 8-9 นิ้วร้องไห้ หยุดฟังเสียง มองมองหน้าช่วงสั้น เลียนแบบ อ้าปากแลบลิ้นได้
1 เดือน
เริ่มชันคอ ผงกศีรษะ หันหน้าซ้ายขวา ขาเริ่มเหยียดในท่าคว่ำกำมือแน่น จ้องมองสิ่งต่างๆ มองตามไม่เกินเส้นกึ่งกลางของตัวทำเสียงในคอมองจ้องหน้า
2 เดือน
ท่าคว่ำ ชันคอได้ 45 องศา
ท่านั่ง ยกศีรษะ เงยหน้าขึ้น
มือกำหลวมๆ มองตามข้ามเส้นกึ่งกลางของตัวฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียงสบตา ยิ้มตอบ แสดงความสนใจ
4 เดือน
ท่าคว่ำ ยกศีรษะขึ้นสูง ชันคอได้ 90 องศา โดยใช้แขนยัน ยกตัวชูชึ้น
ท่านั่ง ยกศีรษะตั้งตรงได้
มองตาม 180 องศา มือ 2 ข้างมาจับกันตรงกลาง ไข่วคว้าของใกล้ตัว ใช้สองตาประสานกันได้ดีส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะ ส่งเสียงแหลมรัวเวลาดีใจสนุกยิ้มตอบและยิ้มทัก ทำท่าทางดีใจเวลาเห็นอาหาร หรือคนเลี้ยงดู
6 เดือน
คว่ำ และหงายได้เอง ท่าคว่ำใช้ข้อมือยันได้ ตึงจากท่านอนหงานมาท่านั่ง ศีรษะไม่ตกไปข้างหลัง นั่งเองได้ชั่วครู่ ถ้าจับยืนเริ่มลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ได้คว้าของด้วยฝ่ามือ หยิบของมือเดียว และเปลี่ยนมือได้ มองเห็นทั้งไกลและใกล้หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียงรู้จักแปลกหน้า กินอาหารกึ่งเหลง (semlsolld) ที่ป้อนด้วยช้อนได้
9 เดือน
นั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืนใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็ก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เปิดหาของที่ซ่อนไว้ได้ มองตามของที่ตกจากมือฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมายเล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก หรือร้องตามแม่เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง หยิบอาหารกินได้
12 เดือน
เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจกางแขนขา เพื่อทรงตัวใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ หยิบของเล็กๆ ได้ถนัด หยิบของใส่ถ้วยหรือกล่องเรียกพ่อ แม่ หรือคำพูดโดด ที่มีความหมาย 1 คำ ทำท่าทางตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้ตบมือ เลียนท่าทางโบกมือ สาูธุ ร่วมมือเวลาแต่งตัว และชอบสำรวจ
15 เดือน
เกาะเดินเองได้วางของซ้อนกัน 2 ชิ้น
พูดเป็นคำโดดที่มีความหมาย ชี้ส่วนต่างๆ บนใบหน้าได้ตามคำบอก
ใช้ช้อนตักแต่ยังหกอยู่บ้าง กลิ้งลูกบอลรับ-ส่ง กับผู้ใหญ่
18 เดือน
เดินคล่อง วิ่ง ยืน ก้มลงเก็บของแล้ว ลุกขึ้นได้โดยไม่ล้ม จูงมือเดียวขึ้นบันไดวางของซ้อนได้ 3 ชิ้น ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆชี้รูปภาพตามคำบอกได้ พูดเป็นคำโดดได้หลายคำ ทำตามคำบอกที่ไม่มีท่าทางประกอบได้ถือด้วยน้ำดื่มเอง
2 ปี
เดินขึ้นบันได เตะลูกบอลได้ กระโดด 2 เท้าต่อรถไฟ ขีดเส้นตรง และโค้งเป็นวงๆ ได้ ตั้งซ้อนได้ 6 ชิ้น เปิดหนังสือทีละหน้าพูด 2-3 คำต่อกันได้อย่างมีความหมาย บอกชื่อของที่คุ้นเคยได้ บอกชื่อตัวเองได้เลียนแบบผู้ใหญ่ ใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ บอกได้เวลาจะถ่ายอุจจาระ
3 ปี
ขึ้นบันไดสลับเท้า ขี่สามล้อวาดวงกลมได้ ต่อชิ้นไม้ 3 ชิ้นเป็นสะพานเล่าเรื่องที่ตนประสบมาให้ผู้อื่นฟัง เข้าใจประมาณร้อยละ 50ถอดรองเท้าและใส่เสื้อได้ รู้เพศตนเอง แบ่งของให้คนอื่นได้บ้าง เล่นกับคนอื่น ควบคุมการถ่ายอุจจาระได้
4 ปี
เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจกางแขนขาเพื่อทรงตัววาดสี่เหลี่ยมได้ วาดคนได้ 3 ส่วน ต่อชิ้นไม้ 5 ขิ้นได้ร้องเพลง พูดเป็นประโยค ถามคำถาม เล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังเข้าใจได้ทั้งหมด รู้จัก 4 สีเล่นรวมกับคนอื่นได้ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้เวลากลางวัน กลัดกระดุมเอง
5 ปี
กระโดดสลับเท้าได้ กระโดดข้าม สิ่งกีดขวางเตี้ยๆ ได้ เดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ล้มจับดินสอได้ถูกต้อง วาดสามเหลี่ยมได้ตามแบบ วาดคนได้ 6 ส่วน ต่อบันได 6 ชิ้น
พูดฟังเข้าใจได้ ถามเกี่ยวกับความหมาย และเหตุผล จำตัวอักษรได้ นับสิ่งของได้ 5 ชิ้น นับเลขได้ถึง 20
เล่นอย่างมีกติกา แต่งตัวเองเล่น สมมติโดยใช้จินตนาการ ไม่ปัสสาวะรดที่นอนเวลากลางคืน
6 ปี
เดินบนส้นเท้า เดินต่อเท้าถอยหลังได้ ใช้ 2 มือรับลูกบอลที่โยนมา ยืนกระโดดไกลประมาณ 120 ซม.วาดรูปสี่เหลี่ยมชนมเปียกปูนได้ และสี่เหลี่ยมที่มีเ้ส้นทะแยงมุม เขียนตัวอักษรง่ายๆ ได้รู้ซ้า่ยขวา นับได้ถึง 30 อธิบายความหมายของคำได้ บอกความแตกต่างของ 2 สิ่งได้ เข้าใจเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ระยะช่วยงานบ้านได้ เล่นอย่างมีกติกา ผูกเชือกรองเท้าได้


 วีดีโอการปฏิสนธิ


วีดีโอการคลอด

ประเมินตนเอง : วันนี้มีตั้งใจเรียนและเข้าใจความรู้เกี่ยวกับเด็กมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตื่นเต้นกับการดูวีดีโอ แล้วตั้งใจเรียนกันทุกคนเลย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนครอบคลุม มีการสอนแบบบรรยายประกอบการดูคลิปวีดีโอเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่นักศึกษาครูการศึกษาปฐมวัยควรจะได้ศึกษา





วันอังคารที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2560

วันนี้เป็นการเรียนวันแรของรายวิชานี้ วันนี้ก็มีกิจกรรมปฐมนิเทศรายวิชา มีการแนะแนวการสอน ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชานี้ มีการกำหนดข้อตกลงกันในห้องเรียน และการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน
 ชี้แจงงานที่ต้องทำในรายวิชานี้ มีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน เช่น
1.Blog ความรู้
2.บทความที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย คนละ 1 บทความ
3.นำเสนอพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
4.งานในห้องเรียน
5.ลงสังเกตกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 23 กุมภาพันธ์ 2561
6.งานกลุ่มอภิปราย
7.แสดงบทบาทสมมติ
8.การนำเสนอการสัมภาษณ์ครูผู้สอนปฐมวัย บทบาทครูปฐมวัย
9.ประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มละ 9-10 คน





รายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเป็นการพัฒนาการ ความต้องการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทฤษฎีพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู หลักการนโยบายการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การดูแลสุภาพอนามัย โภชนาการของเด็กปฐมวัย บทบาทของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในการอบรมเลี้ยงดูและให้ศึกษาทั้งในและนอกสถานที่






ท้ายชั่วโมงก็มีกิจกรรมการฟังจากฟังแล้วให้ทายว่าได้ยินเสียงอะไรบ้าง แล้วให้คนที่ได้คำตอบเยอะที่สุดบอกให้เพื่อนทำเสียงตามนั้น 




ประเมินตนเอง : วันนี้มาเรียนเช้าและมีความพร้อมมาเรียนรายวิชานี้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความพร้อมมาเรียนวันแรกของรายวิชานี้ และตื่นเต้นกับการเรียนรายวิชานี้เพราะจะได้ไปลงสังเกตและกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยที่โรงเรียนสาธิต
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพร้อมในการสอน และมีการอธิบายรายวิชาอย่างละเอียดและชัดเจนแล้วก็ยังมีกิจกรรมฝึกการฟัง และการจำ ตอนท้ายคาบ