บทที่ 1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
• ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
•
ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก
หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
•
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง
มีความอิจฉาริษยาสูง
•
พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่
แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ
ความหมายของการพัฒนา
พัฒนาการ
หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ
การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม
อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของการพัฒนา
1.
พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2.
การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
1)
พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว
ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo
distal direction)
3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
4)
อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม
และสภาพแวดล้อม
5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ
ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ ของอินทรีย์ (differentiation)
6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้
ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
แม้ว่าจะมีพัฒนาการหลายด้านเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ตาม
8)
พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ลักษณะทั่วไปของการพัฒนาเด็ก
1. เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal
factors) ได้แก่
1.1 พันธุกรรม (heredity)
1.2
วุฒิภาวะ
(maturation)
2. เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย (external
factors)
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเด็ก
1. อาหาร
2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
3. เชื้อชาติ
4. เพศ
5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
6. สติปัญญา
7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
8. ตำแหน่งในครอบครัว
ความหมายของเด็กพิเศษ
คำว่า
เด็กพิเศษ หรือ Children With Special
Need หมายถึงเด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ
ยังมีคำภาษาไทยใช้กันอยู่หลายคำ
คือเด็กนอกระดับ
เด็กผิดปกติ เด็กพิการ เด็กอปกติ
แต่คำที่ใช้บ่อย
และถือเป็นสากลก็คือคำว่า
“เด็กพิเศษ”
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถจัดแบ่งได้เป็น
2
กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง
2.
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
ด้วยความสามารถหรือมีปัญหา
ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีการเรียนรู้ช้า ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง
ๆ เทียบไม่ได้กับเด็กในระดับเดียวกัน
และในกลุ่มเด็กบกพร่องนี้ จะมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมตามมา
วิธีสังเกตการเจริญเติบโตของเด็ก
ใช้วิธีการง่าย ๆ คือ
การสังเกตหรือสอบถามจากผู้ที่มีลูกแล้ว เมื่อทราบและสังเกตพบว่า
เด็กมีการเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ปกติดังกล่าวข้างต้นประมาณ 2 – 3
เดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือ
1.
พาเด็กไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจพัฒนาการของเด็ก
2.
พาเด็กไปรับการส่งเสริมพัฒนาการตามโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน
รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขต่าง ๆ
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง
6 ขวบ
อายุ
|
การทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย
|
การใช้ตาและมือ
|
การสื่อความหมายและภาษา
|
สังคม
|
แรกเกิด
| งอแขนขาและเคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ข้าง ในท่านอนคว่ำ | มองเหม่อ เห็นชัดเฉพาะระยะห่าง 8-9 นิ้ว | ร้องไห้ หยุดฟังเสียง มอง | มองหน้าช่วงสั้น เลียนแบบ อ้าปากแลบลิ้นได้ |
1 เดือน
| เริ่มชันคอ ผงกศีรษะ หันหน้าซ้ายขวา ขาเริ่มเหยียดในท่าคว่ำ | กำมือแน่น จ้องมองสิ่งต่างๆ มองตามไม่เกินเส้นกึ่งกลางของตัว | ทำเสียงในคอ | มองจ้องหน้า |
2 เดือน
| ท่าคว่ำ ชันคอได้ 45 องศา ท่านั่ง ยกศีรษะ เงยหน้าขึ้น | มือกำหลวมๆ มองตามข้ามเส้นกึ่งกลางของตัว | ฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียง | สบตา ยิ้มตอบ แสดงความสนใจ |
4 เดือน
| ท่าคว่ำ ยกศีรษะขึ้นสูง ชันคอได้ 90 องศา โดยใช้แขนยัน ยกตัวชูชึ้น ท่านั่ง ยกศีรษะตั้งตรงได้ | มองตาม 180 องศา มือ 2 ข้างมาจับกันตรงกลาง ไข่วคว้าของใกล้ตัว ใช้สองตาประสานกันได้ดี | ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะ ส่งเสียงแหลมรัวเวลาดีใจสนุก | ยิ้มตอบและยิ้มทัก ทำท่าทางดีใจเวลาเห็นอาหาร หรือคนเลี้ยงดู |
6 เดือน
| คว่ำ และหงายได้เอง ท่าคว่ำใช้ข้อมือยันได้ ตึงจากท่านอนหงานมาท่านั่ง ศีรษะไม่ตกไปข้างหลัง นั่งเองได้ชั่วครู่ ถ้าจับยืนเริ่มลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ได้ | คว้าของด้วยฝ่ามือ หยิบของมือเดียว และเปลี่ยนมือได้ มองเห็นทั้งไกลและใกล้ | หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง | รู้จักแปลกหน้า กินอาหารกึ่งเหลง (semlsolld) ที่ป้อนด้วยช้อนได้ |
9 เดือน
| นั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน | ใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็ก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เปิดหาของที่ซ่อนไว้ได้ มองตามของที่ตกจากมือ | ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย | เล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก หรือร้องตามแม่เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง หยิบอาหารกินได้ |
12 เดือน
| เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจกางแขนขา เพื่อทรงตัว | ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ หยิบของเล็กๆ ได้ถนัด หยิบของใส่ถ้วยหรือกล่อง | เรียกพ่อ แม่ หรือคำพูดโดด ที่มีความหมาย 1 คำ ทำท่าทางตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้ | ตบมือ เลียนท่าทางโบกมือ สาูธุ ร่วมมือเวลาแต่งตัว และชอบสำรวจ |
15 เดือน
| เกาะเดินเองได้ | วางของซ้อนกัน 2 ชิ้น |
พูดเป็นคำโดดที่มีความหมาย ชี้ส่วนต่างๆ บนใบหน้าได้ตามคำบอก
| ใช้ช้อนตักแต่ยังหกอยู่บ้าง กลิ้งลูกบอลรับ-ส่ง กับผู้ใหญ่ |
18 เดือน
| เดินคล่อง วิ่ง ยืน ก้มลงเก็บของแล้ว ลุกขึ้นได้โดยไม่ล้ม จูงมือเดียวขึ้นบันได | วางของซ้อนได้ 3 ชิ้น ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ | ชี้รูปภาพตามคำบอกได้ พูดเป็นคำโดดได้หลายคำ ทำตามคำบอกที่ไม่มีท่าทางประกอบได้ | ถือด้วยน้ำดื่มเอง |
2 ปี
| เดินขึ้นบันได เตะลูกบอลได้ กระโดด 2 เท้า | ต่อรถไฟ ขีดเส้นตรง และโค้งเป็นวงๆ ได้ ตั้งซ้อนได้ 6 ชิ้น เปิดหนังสือทีละหน้า | พูด 2-3 คำต่อกันได้อย่างมีความหมาย บอกชื่อของที่คุ้นเคยได้ บอกชื่อตัวเองได้ | เลียนแบบผู้ใหญ่ ใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ บอกได้เวลาจะถ่ายอุจจาระ |
3 ปี
| ขึ้นบันไดสลับเท้า ขี่สามล้อ | วาดวงกลมได้ ต่อชิ้นไม้ 3 ชิ้นเป็นสะพาน | เล่าเรื่องที่ตนประสบมาให้ผู้อื่นฟัง เข้าใจประมาณร้อยละ 50 | ถอดรองเท้าและใส่เสื้อได้ รู้เพศตนเอง แบ่งของให้คนอื่นได้บ้าง เล่นกับคนอื่น ควบคุมการถ่ายอุจจาระได้ |
4 ปี
| เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจกางแขนขาเพื่อทรงตัว | วาดสี่เหลี่ยมได้ วาดคนได้ 3 ส่วน ต่อชิ้นไม้ 5 ขิ้นได้ | ร้องเพลง พูดเป็นประโยค ถามคำถาม เล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังเข้าใจได้ทั้งหมด รู้จัก 4 สี | เล่นรวมกับคนอื่นได้ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้เวลากลางวัน กลัดกระดุมเอง |
5 ปี
| กระโดดสลับเท้าได้ กระโดดข้าม สิ่งกีดขวางเตี้ยๆ ได้ เดินต่อเท้าเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ล้ม | จับดินสอได้ถูกต้อง วาดสามเหลี่ยมได้ตามแบบ วาดคนได้ 6 ส่วน ต่อบันได 6 ชิ้น |
พูดฟังเข้าใจได้ ถามเกี่ยวกับความหมาย และเหตุผล จำตัวอักษรได้ นับสิ่งของได้ 5 ชิ้น นับเลขได้ถึง 20
| เล่นอย่างมีกติกา แต่งตัวเองเล่น สมมติโดยใช้จินตนาการ ไม่ปัสสาวะรดที่นอนเวลากลางคืน |
6 ปี
| เดินบนส้นเท้า เดินต่อเท้าถอยหลังได้ ใช้ 2 มือรับลูกบอลที่โยนมา ยืนกระโดดไกลประมาณ 120 ซม. | วาดรูปสี่เหลี่ยมชนมเปียกปูนได้ และสี่เหลี่ยมที่มีเ้ส้นทะแยงมุม เขียนตัวอักษรง่ายๆ ได้ | รู้ซ้า่ยขวา นับได้ถึง 30 อธิบายความหมายของคำได้ บอกความแตกต่างของ 2 สิ่งได้ เข้าใจเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ระยะ | ช่วยงานบ้านได้ เล่นอย่างมีกติกา ผูกเชือกรองเท้าได้ |
วีดีโอการปฏิสนธิ
วีดีโอการคลอด
ประเมินตนเอง : วันนี้มีตั้งใจเรียนและเข้าใจความรู้เกี่ยวกับเด็กมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตื่นเต้นกับการดูวีดีโอ แล้วตั้งใจเรียนกันทุกคนเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น